ฐานข้อมูล
(Database)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ที่เดียวกัน
และรวบรวมข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
แก้ไข สำหรับผู้ใช้งานจำนวนมาก และสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลอื่นได้
ความสัมพันธ์ในฐานข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะจัดเก็บในรูปตารางที่มีความสัมพันธ์กัน ในฐานข้อมูลสามารถสร้างความสัมพันธ์ของตารางโดยกำหนดให้ตารางที่มีคุณลักษณะเหมือนกันมาสร้างความสัมพันธ์กัน
โดยปกติในแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลอยู่นั้นจะประกอบด้วยชื่อตารางแฟ้มข้อมูลหรือเอนทิตี้ (Entity)และหัวข้อเรื่องหรือรายละเอียด (Attribute)
ใน
GIS สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตารางในฐานข้อมูลได้
4 แบบ
ดังนี้
มีระเบียน
(เรคคอร์ด) เพียง 1
ระเบียนในแฟ้ม A ที่มีความสัมพันธ์กับระเบียนเพียง
1 ระเบียนในแฟ้ม B โดยจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Join
2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
(One-to-Many)
มีระเบียนเพียง
1 ระเบียนในแฟ้ม A ที่มีความสัมพันธ์กับหลายระเบียนในแฟ้ม B หรือหลายระเบียนในแฟ้ม B มีความสัมพันธ์กับ
1 ระเบียนในแฟ้ม A โดยจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Relate
3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อหนึ่ง
(Many-to-One)
มีหลายระเบียนในแฟ้ม A ที่มีความสัมพันธ์กับ 1 ระเบียนในแฟ้ม B หรือ 1 ระเบียนในแฟ้ม B มีความสัมพันธ์กับหลายระเบียนในแฟ้ม A โดยจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Join
4. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many)
มีหลายระเบียนในแฟ้ม A ที่มีความสัมพันธ์กับหลายระเบียนในแฟ้ม B หรือหลายระเบียนในแฟ้ม B มีความสัมพันธ์กับหลายระเบียนในแฟ้ม A โดยจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Relate
ตัวอย่าง การใช้โปรแกรม AcrMap 10 ในการสร้างความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล
1. เปิดโปรแกรม AcrMap 10 ขึ้นมา แล้วเลือก Connect to folder ของข้อมูล จากนั้นทำการนำเข้าข้อมูล
2. จากนั้นเปิดชั้นข้อมูล
เปิดชั้นข้อมูล SOILCODE
3. ทำการเชื่อมข้อมูลตาราง โดยจะต้องดูว่ามีข้อมูลใดของตารางที่เป็นตัวเชื่อม จึงจะทำการเชื่อมข้อมูลตารางได้
ในที่นี้ใช้ ข้อมูล SOIL_ID เป็นตัวเชื่อม และใช้วิธีการเชื่อมตารางโดยการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Join
ผลลัพธ์ที่ได้ จะสังเกตุเห็นได้ว่าข้อมูลที่ SOIL_CODE จะมารวมกับข้อมูล
SOIL_GRP
4. วิธีการลบ ความสัมพันธ์ระหว่างตารางแบบ Join
5. วิธีการเชื่อมตารางโดยการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง คือ Relate
เปิดข้อมูลใหม่ขึ้นมา
จากนั้น Open Attribute Table ของชั้นข้อมูล AMPHOE ขึ้นมา
เลือกทำการเชื่อมข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในที่นี้ คือ AMP_CODE
เมื่อเชื่อมตารางความสันพันธ์แบบ Relate แล้ว ข้อมลูที่ถูกเชื่อมความสัมพันธ์อยู่ที่ Relate Tables
ตารางที่ได้ทำการเชื่อมความสันพันธ์แบบ Relate เรียบร้อยแล้ว
เลือกรายการที่เราต้องการที่จะแก้ไขข้อมูลของกราฟ
จากนั้น Open Attribute Table ของชั้นข้อมูล AMPHOE ขึ้นมา
เลือกทำการเชื่อมข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในที่นี้ คือ AMP_CODE
เมื่อเชื่อมตารางความสันพันธ์แบบ Relate แล้ว ข้อมลูที่ถูกเชื่อมความสัมพันธ์อยู่ที่ Relate Tables
ตารางที่ได้ทำการเชื่อมความสันพันธ์แบบ Relate เรียบร้อยแล้ว
6. วิธีการลบ ความสัมพันธ์ระหว่างตารางแบบ Relate
7. การคำนวณค่าสถิติอย่างง่าย โดยจะใช้ค่าสถิติที่เป็นตัวเลขเท่านั้น
จะสังเกตุเห็นได้ว่าจะมีแต่ฟิลด์ที่เป็นประเภทตัวเลขที่จะสามมารถนำมาคำนวณได้เท่านั้น
ดังนั้นจึงต้องเลือกประเภทของฟิลด์นั้นเป็นตัวเลขเท่านั้น
8. การสร้างกราฟ
เลือกรูปแบบของกราฟ
เมื่อเลือกรูปแบบของกราฟแสร็จแล้วคลิก Next ต่อไป เพื่อทำการเปลี่ยนชื่อกราฟ
จากนั้น คลิก Finish แล้วจะได้กราฟดังภาพ
เมื่อต้องการที่จะแก้ไขข้อมูลของกราฟ ให้คลิกขาวที่กราฟ จากนั้นเลือกที่ Advanced Properties
การ Export กราฟ
9. การสร้าง Report
เข้าไปที่ View >> Report >> Create Report
เลือกฟิลด์ข้อมูลที่จะนำมาสร้าง Report
เมื่อเลือกฟิลด์ข้อมูลแล้ว ก็กำหนดหัวเรื่องของ Report
เลือกรูปแบบของ Report
ตั้งชื่อ Report
กด Finish แล้วจะได้ Report ที่เราได้ทำการสร้างขึ้นมา
หากต้องการที่แก้ไข Report ให้เข้าไปที่ Edit แล้วทำการแก้ไขตามที่ต้องการ
ถ้าต้องการนำแผนที่เข้ามาแทรกอยู่ใน Report ให้ไปที่ Add to Map
เป็นการเสร็จสิ้นสำหรับขั้นตอนการสร้างความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล
VIDEO ประกอบข้อมูล