การสำรวจข้อมูล (Data exploration)


        การสำรวจข้อมูล (Data exploration) 

             การสำรวจข้อมูล (Data exploration) ถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของ GIS เนื่องด้วยฐานข้อมูล GIS มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง มีการเรียกค้นเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นและที่จะนำมาใช้ในแต่ละครั้ง
            ความหมายอย่างกว้างของการสำรวจข้อมูล คือ การค้นและวิเคราะห์ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลหรือฐานข้อมูล
            ผู้ใช้สามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเข้าถึงข้อมูลหลัก ข้อมูลย่อย และ ทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ได้

องค์ประกอบหลักของการสำรวจข้อมูล ได้แก่

  • หน้าต่าง (คำสั่ง) ในการโต้ตอบ
  • หน้าต่างที่ใช้ในการแสดงผล

ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลมักแสดงให้อยู่ในรูปของ

  • แผนที่ (ทั้งแบบเวกเตอร์ และแรสเตอร์)
  • กราฟ
  • ตาราง

         การสอบถามข้อมูล (Data query) เกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูลตาม เงื่อนไขที่กำหนด โดยที่ผลลัพธ์หรือข้อมูลจะไม่ถูกดัดแปลงหรือแก้ไขเลย วิธีการสอบถามข้อมูล เช่น

  • การสอบถามข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL
  • การเรียงล าดับ (Sorting)
  • การค้นหา (Searching)

     SQL เป็นภาษาที่ใช้ในสำหรับการเรียกใช้ฐานข้อมูล ซึ่งย่อมาจาก “Structured Query Language"
     SQL สามารถอ่านว่า เอสคิวแอล (SQL) หรือ ซีเควล (Sequel) ก็ได้
     SQL เป็นภาษาที่มีมาตรฐานและเป็นระบบเปิด (Open system) หมายถึง สามารถใช้คำสั่ง SQL กับฐานข้อมูลชนิดใดก็ได้ และคำสั่งงาน เดียวกันเมื่อสั่งงานผ่านระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจะได้ผลลัพธ์ เหมือนกัน


            ใน ArcGIS ใช้ SQL ในการค้นหาข้อมูล สามารถดำเนินการโดยใช้คำสั่ง Select by Attribute หรือ Query Builder ก็ได้
           โดยทั่วไปแล้วการพิมพ์ภาษา SQL เพื่อค้นหาข้อมูลอย่างง่าย ซึ่งมีรูปแบบ การเขียนคำสั่งดังนี้
         
                                          <Field_name> <Operator> <Value or String>

           นอกจากนี้ยังสามารถใช้ภาษา SQL ในการค้นหาข้อมูลแบบซับซ้อนมาก ขึ้นได้ เช่น

                                        <Field_name> <Operator> <Value or String> <Connector>
                                        <Field_name> <Operator> <Value or String> ...

ขั้นตอนการทำ
           
              เปิดข้อมูล จ. กาญจนบุรี ขึ้นมา



           คลิกขวาที่ข้อมูล เลือก Properties


              ไปที่ Definition Query คือ การแสดงเฉพาะข้อมูลที่เลือก




              คลิกที่  Query Builder




              หน้าต่าง Query Builder เป็นการใช้ภาษา SQL เพื่อการค้นหาข้อมูล


                   ส่วนที่แสดงฟิลด์ของ Amphoe  โดยเลือกลายละเอียดของ Amphoe ที่ Get Unique Values 




                ทำการค้นหาข้อมูลโดยการใช้ภาษา SQL และใช้ตัวดำเนินการการเปรียบเทียบ (Comparison operators) ในการสืบค้น
                ทำการกรอกข้อมูลที่จะค้นแล้วกด OK


                    กด OK


                จะได้ข้อมูลที่เราสืบค้น



                ทำการเปิดข้อมูลใหม่ขึ้นมา (เปิดข้อมูล Country )


                Open Attribute Table ของข้อมูลขึ้นมา


                  ไปที่ Selection  >>  Select By Attributes


                 จะปรากฎหน้าต่างดังภาพ


                ทำการค้นหาข้อมูลตามที่เราต้องการ
     จะได้ผลลัพธ์จากการค้นข้อมูล ปรากฏข้อมูลตามที่เราเลือกค้น


                 การค้นหาข้อมูลตัวเลข 

             สำหรับการค้นหาข้อมูลตัวเลข หรือ Number นั้น จะเกี่ยวข้องกับคำสั่งทางตรรกศาสตร์ เช่น เท่ากับ มากกว่า หรือน้อยกว่า เป็นต้น

                ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลตัวเลข 
  

                 การใช้ Like ในการการค้นหาข้อมูล
             
           การใช้ Like มี 2 รูปแบบ ได้แก่ LIKE และ NOT LIKE

          การใช้ LIKE จะคล้ายคลึงกับการใช้ “เท่ากับ” แต่ LIKE จะใช้ สำหรับค้นหาบางส่วนของข้อความ (ประโยค) 1 ตัวอักษร หรือไม่มี ตัวอักษร โดยจะใช้ LIKE กับ % เช่น

                                        "STATE_NAME" LIKE 'Miss%'

หรือจะใช้ LIKE กับ _ เป็นการค้นหาตัวอักษรที่หายไป เช่น

                                       "OWNER_NAME" LIKE '_atherine Smith'


                 ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลโดยใช้  Like


                การใช้ Not ในการการค้นหาข้อมูล

             การใช้ NOT นำหน้านิพจน์หรือประโยค หรือนำหน้าตัวดำเนินการ ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลที่ตรงข้ามกับประโยคนั้น ๆ

             ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Not 


                 การค้นหาข้อมูลโดยมี 2 เงื่อนไข



              การค้นหาข้อมูลโดยกำหนดเงื่อนไขดังนี้ ให้ค้นหาชื่อประเทศที่มีลำดับมากกว่า 239 แล้วจะต้องไม่มีชื่อประเทศที่ขึ้นต้นด้วยตัว




              เปิดข้อมูลใหม่ขึ้นมา



              การเปิดคำสั่ง Select By Location  เปิดคำสั่งที่ใช้ค้นหาข้อมูลโดยตรง



                   เลือกข้อมูลที่เราต้องการจะใช้สืบค้น


               การให้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการที่เราป้อน ณ ครั้งนั้นๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการ


               ให้เอาผลลัพธ์ที่เราได้จากการทำปัจจุบันไปรวมกับผลลัพธ์ที่ทำมา


                 ให้เอาผลลัพธ์ที่ได้จะเงื่อนไข ณ ปัจจุบัน ไปแสดงผล


                    ให้เอาผลลัพธ์ที่มีเงื่อนไขที่เหมือนกันมาแสดงผล


                รูปแบบของการดำเนินการ




               ตัวอย่างการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ

       หาจุดหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ถนนภายในบริเวณ 100 เมตร


       ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา


       การค้นหาหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับถนน


        ผลลัพธ์ที่ได้

Video ประกอบข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น