การประมาณค่าช่วง (Interpolation)


    การประมาณค่าช่วง (Interpolation)

             การวิเคราะห์พื้นผิว (Surface analysis) เป็นการวิเคราะห์การกระจาย ของค่าตัวแปรหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนเป็นมิติที่ 3 ของข้อมูลเชิงพื้นที่
            โดยข้อมูลเชิงพื้นที่มีค่าพิกัดตามแนวแกน X และ Y ส่วนตัวแปรที่น ามา วิเคราะห์เป็นค่า Z ที่มีการกระจายตัวครอบคลุมทั้งพื้นที่
             ตัวอย่างของค่า Z ได้แก่ ข้อมูลความสูงของพื้นที่ ความเข้มข้นของ สารเคมี ปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิ เป็นต้น


           IDW (Inverse Distance Weight)

          เป็นการประมาณค่าโดยท้าการสุ่มจุดตัวอย่างแต่ละจุดจากต้าแหน่งที่ สามารถส่งผลกระทบไปยังเซลล์ที่ต้องประมาณค่าได้ ซึ่งจะมีผลกระทบ น้อยลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางที่ไกลออกไป
เหมาะกับตัวแปรที่อ้างอิงกับระยะทางในการค้านวณ ยิ่งใกล้ยิ่งมีอิทธิพล มาก เช่น ความดังของเสียง ความเข้มข้นของสารเคมี


            เปิดชั้นข้อมูลจุด ชื่อ SPOT ซึ่งมีค่า Elevation


               Open Attribute Table ของข้อมูล


                ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > IDW


              ช่อง Input point features ใส่ ชั้นข้อมูล SPOT  ช่อง Z value field ให้ใส่ fieldที่เก็บค่าความสูง คือ Elevation ช่อง Output rasterให้เลือกโฟร์เดอร์ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Output cell size ให้ใส่ค่าขนานของ Pixel 40 ก็พอ  จากนั้นกด Environments เพื่อตัดขอบข้อมูล



                เลือก  Processing Extent  > ในช่อง Extent  เลือกSame as layer PROVINCE

             
               จากนั้นเลือก  Raster Analysis  >  ตรงช่องMask เลือก PROVINCE ซึ่งเป็นขอบเขตจังหวัดที่จะทำการตัดขอบ จากนั้นกด OK

         
                ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ IDW



           Natural Neighbors

            หลักการของ Natural Neighbors คือ การสร้าง subset ที่อยู่ใกล้จุด ตัวอย่างมากที่สุด จากนั้นจะทำการแทรกค่าโดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ตามขนาดของพื้นที่ของข้อมูลจุดตัวอย่าง
ในเบื้องต้นจะทำการสร้างโพลิกอนรอบล้อมจุดตัวอย่าง เรียกว่า Voronoi (Thiessen) polygon จากนั้นจะมีการสร้าง Voronoi ขึ้นใหม่รอบจุดที่ ต้องการแทรกค่า โดยขนาดพื้นที่ของ Voronoi ที่สร้างใหม่นี้จะนำไปใช้ ค้านวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก




               ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > Natural Neighbor


                ช่อง Input point features ใส่ ชั้นข้อมูล SPOT  ช่อง Z value field ให้ใส่ fieldที่เก็บค่าความสูง คือ Elevation ช่อง Output rasterให้เลือกโฟเดอร์ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Output cell size ให้ใส่ค่าขนานของ Pixel 40 ก็พอ  จากนั้นกด Environments เพื่อตัดขอบข้อมูล



           Spline 

            เป็นวิธีการแทรกค่าให้พอดีกับพื้นผิวที่มีความโค้งเว้าอย่างน้อยตามจุด ข้อมูลตัวอย่างที่นำเข้ามา เหมือนการบิดงอของแผ่นยางผ่านจุดตัวอย่าง โดยพยายามให้อย่างน้อยความโค้งทั้งหมดเข้าหาจุดตัวอย่างเหล่านั้นมา เป็นพื้นผิว
           วิธี Spline เป็นการนำสมการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการคำนวณ เหมาะกับพื้นผิวที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสูง และความลึกของพื้นน้ำ เป็นต้น

           วิธี Spline แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

            1. Regularized spline เป็นเทคนิคที่ท้าให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความเรียบ และค่า ของข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น โดยการ กำหนดค่าน้ำหนักที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 0-0.5
            2. Tension spline เป็นเทคนิคที่มีการควบคุมความแข็งกระด้างของพื้นผิว ให้เป็นไปตามลักษณะของปรากฏการณ์ โดยผลลัพธ์ที่ได้มีความเรียบน้อย กว่าแบบ Regularize


             ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > Spline


              เลือก  Processing Extent  ในช่อง Extent  เลือกSame as layer PROVINCE
 จากนั้นเลือก  Raster Analysis  >  ตรงช่องMask เลือก PROVINCE ซึ่งเป็นขอบเขตจังหวัดที่จะทำการตัดขอบ จากนั้นกด OK


              รอโปรแกรมประมวลผล แล้วจะได้ข้อมูลที่ผ่านการสร้าง Spline มาเรียบร้อย







               Kriging

             เป็นวิธีการประมาณค่าชว่งขั้นสูง โดยการใช้กระบวนการทางสถิติและ สมการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการวเิคราะห์
             วิธีการนี้จะทำการเลือกสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับจุดตัวอย่าง ที่เลือกไว้ ภายในรัศมีที่กำหนดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในแต่ละพื้นที่ออกมา
             การใช้ Kriging ควรต้องรู้ระยะทางที่สัมพันธ์ทางพื้นที่หรือทิศทางเอนเอียงในข้อมูล

             Kriging แตกต่างจากการประมาณค่าช่วงด้วยวิธีอื่น เช่น IDW หรือ Spline เนื่องจากทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการประมาณค่าโดยรอบจุดตัวอย่าง โดยตรง หรือใช้สมการทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้จึงมีความเรียบ  แต่วิธี Kriging จะท้าการประมาณค่าโดยใช้แบบจ้าลองทางสถิติ เช่น ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation)
ดังนั้น เมื่อใช้ Kriging จะได้ผลลัพธ์ที่มาจากการวิเคราะห์ที่แน่นอนและมี ความถูกต้องสูง


             ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > Kriging


               ช่อง Input point features ใส่ ชั้นข้อมูล SPOT  ช่อง Z value field ให้ใส่ fieldที่เก็บค่าความสูง คือ Elevation ช่อง Output rasterให้เลือกโฟเดอร์ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Output cell size ให้ใส่ค่าขนานของ Pixel 40 ก็พอ  จากนั้นกด Environments เพื่อตัดขอบข้อมูล


              ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ  Kriging  จะเป็นลักษณะพื้นผิวที่หยาบ


               เมื่อ Zoom in เข้าไปจะสามารถเห็นได้ชัดเจน



              Trend

            วิธีนี้จะท้าการเลือกสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม โดยการระบุลำดับของพีชคณิต (Polynomial) ให้กับจุดตัวอย่างทั้งหมด
            Trend เปรียบได้กับการน้าเอากระดาษไปวางไว้บนจุดตัวอย่าง ซึ่งพื้นผิว ที่ได้จะมีความสอดคล้องกับความสูงของจุดตัวอย่างนั่นเอง
ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นพื้นผิวที่มีความแปรปรวนต่ำ สัมพันธ์กับจุดตัวอย่าง และต่อเนื่องตามแนวโน้มข้อมูล


          ในบางกรณี พื้นที่ไม่ได้เป็นลักษณะของพื้นราบเสมอไป เช่น บริเวณที่เป็น หุบเขา
ดังนั้น เมื่อใช้ Trend ในการประมาณค่าช่วง จึงต้องมีการค้านวณสมการ ทางคณิตศาสตร์ใหม่ให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นผิวที่โค้ง โดยหากพื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ จะใช้สมการพีชคณิตแบบเส้นตรง (Linear polynomial)
        ถ้าพื้นที่มีความโค้งหนึ่งแห่ง จะใช้สมการพีชคณิตแบบก้าลังสอง (Quadratic polynomial)
ถ้าพื้นที่มีความโค้งสองแห่ง จะใช้สมการพีชคณิตแบบก้าลังสาม (Cubic polynomial)
        โดยใน ArcGIS Spatial Analyst สามารถประมาณค่าพื้นที่ที่มีความโค้ง ได้สูงสุด 12 แห่ง



          ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > Tread

          ช่อง Input point features ใส่ ชั้นข้อมูล SPOT  ช่อง Z value field ให้ใส่ fieldที่เก็บค่าความสูง คือ Elevation ช่อง Output rasterให้เลือกโฟเดอร์ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Output cell size ให้ใส่ค่าขนานของ Pixel 40 ก็พอ  ส่วนช่อง Polynomial order ให้ใส่สมการ พีชคณิต ซึ่งถ้าพื้นที่ราบ ให้ใส่ เเค่ กำลัง1 ถ้าพื้นที่มีความโค้งหนึ่งแห่ง จะใช้สมการพีชคณิตแบบกำลังสอง ถ้าพื้นที่มีความโค้งสองแห่ง จะใช้สมการพีชคณิตแบบกำลังสาม โดยใน ArcGIS Spatial Analyst สามารถประมาณค่าพื้นที่ที่มีความโค้งได้สูงสุด 12 แห่ง จากนั้นกด Environments เพื่อตัดขอบข้อมูล


               ผลลัพธ์ที่ได้



                 Topo to Raster 

             เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแบบจำลองความสูงเชิงเลขทางอุทกศาสตร์ (Hydrological correct digital elevation model: DEMs) โดยใช้ข้อมูลเส้น Contour
              ผลลัพธ์ที่ได้ ได้แก่ โครงสร้างการระบายน้ำ รวมทั้งการแสดงลักษณะของ สันเขาและลำธารที่มีความถูกต้อง


                เปิดชั้นข้อมูลขึ้นมา


                 ไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Interpolation > Topo to Raster


             ช่อง Input point features ใส่ ชั้นข้อมูลเเละกำหนดค่าตามรูป   ช่อง Output rasterให้เลือกโฟร์เดอร์ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Output cell size ให้ใส่ค่าขนานของ Pixel 40 ก็พอ จากนั้น กด OK






                   ผลลัพธ์ที่ได้



             การสร้าง TIN

        ไปที่ ArcToolbox > 3D Analyst Tools >TIN Management > Create TIN


              ช่อง Output ให้เลือกโฟเดอร์ที่จะเก็บ เเล้วตั้งชื่อ ช่อง Input Feature Class ให้ใส่ชั้นข้อมูล เเล้วปรับค่าตามรูป เเล้วติ๊กเครื่องหมายถูกหน้า Constrained Delaunay จากนั้นกด OK




                    การเอาเส้นชั้นความสูงออก


              ผลลัพธ์ที่ได้



Video ประกอบข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น