การสร้างข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พื้นผิว (Surface analysis)

 

          การวิเคราะห์พื้นผิว (Surface analysis) เป็นการวิเคราะห์การกระจาย ของค่าตัวแปรหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนเป็นมิติที่ 3 ของข้อมูลเชิงพื้นที่
         โดยข้อมูลเชิงพื้นที่มีค่าพิกัดตามแนวแกน X และ Y ส่วนตัวแปรที่น ามา วิเคราะห์เป็นค่า Z ที่มีการกระจายตัวครอบคลุมทั้งพื้นที่
          ตัวอย่างของค่า Z ได้แก่ ข้อมูลความสูงของพื้นที่ ความเข้มข้นของ สารเคมี ปริมาณน้ าฝน และอุณหภูมิ เป็นต้น

         ผลจากการวิเคราะห์พื้นผิวสามารถแสดงเป็นภาพ 3 มิติให้เห็นถึงความ แปรผันของข้อมูลด้วยลักษณะสูงต่ำของพื้นผิวนั้น
        การแสดงข้อมูลพื้นผิวสามารถใช้โครงสร้างข้อมูลแบบเวคเตอร์โดยการใช้

  •   Triangulated Irregular Network (TINs) หรือ

        โครงสร้างแบบแรสเตอร์โดยการใช้

  •  Digital Elevation Model (DEM)


1. การสร้าง Contour line

             Contour line หรือ เส้นชั้นความสูง
                หมายถึง เส้นจิตนาการของระดับที่คงที่บนพื้นดิน ซึ่งได้จากการลากเส้นคงที่ผ่านจุดต่าง ๆ บนพื้นดินที่มีค่าระดับเท่ากัน หรือในบางครั้งอาจเป็นค่าอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ปริมาณน้ำฝน หรือระดับความ ลึกของน้ำ เป็นต้น

              เปิดข้อมูลที่ผ่านการทำ IDW ขึ้นมา


              เปิดเครื่องมือ  3D  Analysis ขึ้นมา


             จากนั้นเลือกคำสั่ง Create Contour  


                 สร้างเส้น Contour โดยลากเม้าส์ คุมไปที่ตำแหน่งที่ต้องการ


              หากต้องการที่จะลบ ให้ใช้เม้าส์คลิกที่เส้นชั้นความสูง แล้วกด delete


               การสร้าง Contour line ควบคุมทั้งหมดในแผนที่

          ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >> Contour


               นำเข้าข้อมูลที่จะนำมาสร้างเส้น  Contour




                การเปลี่ยนสีเส้น  Contour  เพื่อความแตกต่างของเส้น ตามความสูง




             ผลลัพธ์ที่ได้จะการสร้าง  Contour Line


           2. การสร้างแนวการมองเห็น (Line of sight)

                 แนวการมองเห็น ใช้สำหรับวิเคราะห์การมองเห็นว่าพื้นที่ใดสามารถ มองเห็นได้บนพื้นผิวจากตำแหน่งต่าง ๆ
                ใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ เช่น การประเมินพื้นที่เพื่อวางแผนตั้ง กองกำลังทหาร การสร้างหอคอย และการสร้างหอสื่อสาร เป็นต้น
               สีของเส้นจะบอกตำแหน่งพื้นผิวที่สามารถมองเห็นได้ (สีเขียว) และ ไม่สามารถมองเห็น (สีแดง)
              เส้นสีแดง และเส้นสีเขียวแทน

  • เส้นสีแดง (Obstructed area) บริเวณที่ถูกกีดขวางจากจุดสังเกตุ
  • เส้นสีเขียว (Visible area) บริเวณที่สามารถมองเห็นจากสุดสังเกตุ

            จุดสีดำ สีน้ำเงิน และสีแดงแทน

  • จุดสีดำ (Observer location) ตำแหน่งจุดสังเกตุ
  • จุดสีน้ำเงิน (Obstruction point) ตำแหน่งที่ถูกกีดขวางจากตำแหน่งจุดสังเกตุไปยังตำแหน่งเป้าหมาย
  • จุดสีแดง (Target location) ตำแหน่งเป้าหมาย


              ไปที่เครื่องมือ  3D  Analysis เลือก Create Line of Sight


                 จากนั้นทำการลากเส้นลงในตัวแผนที่
        - ถ้าบริเวณที่เป็นเส้นสีแดง แสดงว่า เราจะไม่สามารถมองเห็นได้จากจุดสังเกตการณ์


              - แต่ถ้าบริเวณนั้นเป็นเส้นสีเขียว แสดงว่า เราจะสามารถมองเห็นได้จากจุดสังเกตการณ์


             3. ทิศทางการไหล (Steepest path)
                   เป็นการประเมินรูปแบบการกลิ้ง (Runoff patterns) ของวัตถุจากแบบจำลองพื้นผิว
โดยจะดูทิศทางการไหลของวัตถุที่ถูกปล่อยจากจุดที่กำหนดไปตาม ลักษณะของพื้นที่ โดยจะมีเส้นทางการไหลไปจนถึงบริเวณที่มีความลาดชันมากที่สุด

                 ไปที่เครื่องมือ  3D  Analysis เลือก  Create Steepest path


              คลิกหนึ่งคลิกที่พื้นที่เราต้องการปล่อยทิศทางการไหลของวัตถุ


             จะสังเกตได้ว่าวัตถุจะไหลลงจากที่สูงลงไปหาที่ต่ำ


             4. ภาพตัดขวาง (Profile)

                 ภาพตัดขวาง เป็นการแสดงระดับความสูงของพื้นผิวตามแนวเส้นที่กำหนด
                 ภาพตัดขวางสามารถช่วยในการประเมินความยากง่ายของเส้นทาง หรือ ประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างถนน หรือทางรถไฟในบริเวณที่กำหนด เป็นต้น

               ไปที่เครื่องมือ  3D  Analysis เลือก  Interpolate Line


              ลากเส้นลงในแผนที่ตามที่ต้องการ


              จากนั้นไปที่เครื่องมือ  3D  Analysis เลือก  Create Profile Graph


              เราจะได้กราฟที่แสดงความสูงต่ำของพื้นที่ ที่เราได้ลากเส้นเอาไว้



              ลากเส้นเพิ่มขึ้นมากอีกหนึ่งเส้น เพื่อดูความแตกต่างระหว่างความสูงต่ำของพื้นที่ทั้งสอง


             เปลี่ยนสีเส้นเพื่อสร้างความแตกต่าง และง่ายต่อการดูข้อมูล


              กราฟแสดงการเปรียบเทียบความสูงต่ำของพื้นที่ทั้งสอง


             5. ความลาดชัน (Slope)

                ความลาดชัน เป็นการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความสูงจากเซลล์ หนึ่งไปยังเซลล์ใกล้เคียง
                ความลาดชันสามารถคำนวณและวัดได้ 2 ประเภท ได้แก่
                        - เปอร์เซ็นต์ (Percent rise)
                        - องศา (Degree)

                ความลาดชันเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percent rise) คำนวณได้จากด้านตรงข้ามมุม (rise) หารด้วยด้านประชิดมุม (run) และคูณด้วย 100 ดังสมการ

                                                Slope (percent rise) = (rise/run)*100

                ความลาดชันเป็นองศาคำนวณ ได้จาก

                                                Slope (degree) =θ tanθ= rise/run



                  ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >> Slope


                 ทำการเลือกข้อมูลที่จะใช้สร้าง Slope โดยคำนวณความลาดชันเป็นหน่วยขององศา (Degree)


                  ผลลัพธ์ที่ได้


                     ทำการเลือกข้อมูลที่จะใช้สร้าง Slope โดยคำนวณความลาดชันเป็นหน่วยของ เปอร์เซ็นต์ (Percent rise)


                ผลลัพธ์ที่ได้


                6. ทิศทางการหันเหของความลาดชัน (Aspect)

                     Aspect เป็นการกำหนดความลาดชันที่จะรับแสง
                     Aspect จะวัดตามเข็มนาฬิกาจาก 0-360 องศา ค่าของทุกเซลล์จะบ่งบอกทิศทางการหันเหของ ความลาดชัน
                    โดยพื้นที่ที่เป็น Flat slope จะไม่มีทิศทาง และมีค่าเป็น -1 เสมอ

                    Aspect สามารถนำไปประยุกต์กับการสร้างแบบจำลองต่าง ๆ ได้ หลากหลาย เช่น
                     - แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
                    - การประมาณการละลายของหิมะ
                    - การกำหนดพื้นที่เพื่อติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์



                ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >>  Aspect


              ทำการเลือกข้อมูลที่จะนำมาทำ  Aspect  จากนั้นกด ok


                  ผลลัพธ์ที่ได้จะการสร้าง  Aspect


               ค่าพิกเซลล์แต่ล่ะจุด จะมีค่าที่ต่างกัน


              7. การตกกระทบของแสง (Hillshade)

                  เป็นรูปแบบความสว่างและความมืดที่พื้นผิวจะได้รับเมื่อให้แสงสว่างจากมุมที่กำหนด
ในการคำนวณการตกกระทบของแสงต้องกำหนดตำแหน่งแหล่งกำเนิด แสงก่อน และจากนั้นจึงคำนวณค่าของแสงในแต่ละเซลล์
                 ค่าของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 ซึ่งแทนด้วยระดับสีเทา จากสีดำจนถึงสีขาวตามลำดับ



                   ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >> Hillshade


               เลือกข้อมูลที่จะนำมาทำ Hillshade


               ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ  Hillshade


                ค่าพิกเซลล์แต่ล่ะจุด จะมีค่าที่ต่างกัน
      โดยพิกเซลล์ที่มีสีเข้มมากๆ แสดงว่าพื้นที่นั้น มีค่า Hillshade น้อย


              ทำการนำเข้าชั้นข้อมูล Amphoe ที่เป็นข้อมูลไฟล์ Polygon ขึ้นมา เพื่อที่จะได้ทำการซ้อนทับข้อมูล ทำให้สามารถเห็นความแตกต่างของพื้นที่มากขึ้น
              ทำให้ของมูล Amphoe มีความโปร่งใส


           



              8. พื้นที่การมองเห็น (Viewshed)

                 เป็นพื้นที่บนพื้นผิวที่สามารถมองเห็นได้จากจุดสังเกตุสำหรับตำแหน่งที่ มองเห็นได้ สามารถหาได้ว่ามีผู้สังเกตุกี่คนที่สามารถมองเห็นตำแหน่งนั้นได้ รวมถึงกำหนดค่าความสูงของผู้สังเกตุ จำกัดความห่าง ความสูง และ ทิศทางที่จะมอง
                 การหาตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้นั้นสามารถหาได้จากหนึ่งหรือหลาย จุดสังเกตุ หรืออาจเป็นแนวเส้นสังเกตุก็ได้

                ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์แสดงออกมาเป็นค่า 0 และ 1 คือ
                          0 แทนพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็น
                          1 แทนพื้นที่ที่สามารถมองเห็นได้
               Viewshed สามารถนำไปใช้ในการหาพื้นที่สำหรับการสร้างหอบังคับการ หอควบคุมไฟป่า หรือที่ตั้งของแทงก์น้ำ เป็นต้น


               ก่อนอื่นต้องสร้าง Shapefile ขึ้นมาก่อน


                   ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >> Viewshed

 
                  เลือกข้อมูลที่จะนำมาสร้าง Viewshed


           


              ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Viewshed
     โดยที่สีเขียวคือบริเวณที่เราสามารถมองเห็นวิวได้


              9.การประมาณปริมาตรในการขุดและถมที่ (Cut-and-Fill)

                เป็นการประมาณการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หรือปริมาตรจากการขุดหรือถมพื้นผิว หรือเรียกว่า สิ่งที่สูญเสีย (Net loss) และสิ่งที่ได้มา (Net gain) ในพื้นที่
              โดยใช้หลักการเปรียบเทียบข้อมูล 2 พื้นผิว หรือ 2 ช่วงเวลา ได้แก่ พื้นผิว ก่อนการเปลี่ยนแปลง (Before surface) และหลังการเปลี่ยนแปลง (After surface)




            ไปที่ Arc Toolbox >> Raster surface >> Cut Fill >> ทำการเลือกข้อมูลที่จะนำมาทำ Cut Fill 


                 ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Cut Fill


              หากต้องการดูข้อมูลการเปลี่ยนแปลงให้  Open Attribute Table ของข้อมูลขึ้นมา

Video ประกอบข้อมูล


1 ความคิดเห็น: