การวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์ (Hydrological model analysis)


  การวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์ (Hydrological model analysis)

          ลุ่มน้ำ (Basin หรือ Watershed หรือ Drainage basin หรือ Catchment area) หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ นาโดยเฉพาะ มีขนาดไม่แน่นอนแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการจัดการ
         ลุ่มน้ำจึงต้องมีขนาดของพื้นที่ (Unit area) โดยก่อนที่จะกำหนดลุ่มนาใด ลุ่มน้ำหนึ่งขึ้นมานั้นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีความ เกี่ยวข้องกับรายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่
         น้ำที่ไหลบ่าอยู่บนผิวดิน หรือ Surface runoff จะไหลไปในทิศทางสูงต่ำ ของพื้นที่ เกิดเป็นเส้นทางน้ำหรือร่องน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ และไหลไปยังจุดออก (Outlet) หรือจุดรวมการระบายน้ำของพื้นที่

        การกำหนดขอบเขตของลุ่มน้ำจะใช้เส้นสันปันน้ำ (Drainage divide) เป็นตัวแบ่ง
สันปันนาอาจเรียกว่า Topographic divide หรือ Divide หรือ Perimeter ก็ได้
       โดยทั่วไปจะใช้แนวสันเขาเป็นเส้นสันปันน้ำ นอกจากนี้ยังใช้อาณาเขต หรือแนวเขตทางกฎหมายเป็นตัวกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ

       เส้นสันเขาหรือเส้นสันปันน้ำที่น้ำไปใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำมี 2 แบบ ได้แก่

  1.  Topographic divide หรือ Surface divide
  2.  Phreatic divide หรือ Sup-surface divide หรือ Ground water divide

การกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำที่ถูกต้องจะต้องให้ Topographic divide ทับ กับ Phreatic divide

         การวิเคราะห์ทางอุทกศาสตร์จะดำเนินการโดยใช้ชุดเครื่องมือในคำสั่ง เสริม Spatial Analyst Extension
         ในชุดเครื่องนี้ใช้สร้างแบบจำลองการไหลของนาบนพื้นผิว
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าทิศทางการไหลของนำ และการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ การวางแผนการจัดการนา การเกษตรกรรม และป่าไม้



          1. การสร้าง การเติมเต็มพื้นที่ (Fill)
             ในพื้นที่ที่เป็นหลุมหรือต่ำ (Sink) กว่าบริเวณอื่น ๆ จะท้าการปรับพื้นผิว โดยการเติมเต็มพื้นที่
ในขณะที่หากบริเวณใดมีพื้นที่สูง (Peak) กว่าทั่วไป ก็จะท้าการปรับให้มี ความสูงใกล้เคียงกัน
พื้นที่ที่เป็นหลุมหรือสูงกว่าปกติเกิดจากความผิดพลาดของรายละเอียด ของข้อมูลหรือค่าความสูง

           เปิดชั้นข้อมูลที่ทำการ IDW มาแล้วขึ้นมา


              ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Fill ขึ้นมา


              ทำการเลือกข้อมูลที่จะนำมาทำ Fill จากนั้นกด ok

              2. ทิศทางการไหล (Flow direction)
                  ทิศทางการไหล เป็นการคำนวณทิศทางการไหลของน้ำจากเซลล์หนึ่งไป ยังเซลล์หนึ่งในข้อมูลแรสเตอร์
                  ทิศทางการไหลถูกคำนวณจาก DEM (อาจผ่านการเติมเต็มพื้นที่แล้ว)
                  ทิศทางการไหลมี 8 ทิศ (D8) (Jenson and Domingue, 1988) ดังนี้



            ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Flow direction ขึ้นมา จากนั้นทำการเลือกข้อมูลที่จะนำมาทำ Flow direction แล้วกด ok




              3. การไหลสะสม (Flow accumulation)
                  การไหลสะสม เป็นการค้านวณการไหลสะสมของข้อมูลทุก ๆ เซลล์ไปยัง เซลล์ที่มีความชันต่ำกว่าซึ่งเป็นจุดออกของน้ำ
                  หากกำหนดให้แต่ละเซลล์มีค่าน้ำหนักเท่ากับ 1 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าของ จำนวนเซลล์ที่ไหลผ่านไปในแต่ละเซลล์ ดังภาพ

     
                     ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Flow accumulation ขึ้นมา


               ทำการเลือกข้อมูลที่จะนำมาสร้าง  Flow accumulation
  
       


                4.ลำดับของลำน้ำ (Stream order)
                    เป็นการกำหนดลำดับให้กับโครงข่ายลำน้ำในลุ่มน้ำด้วยหมายเลข โดยใช้หลักการจำแนกและจัดกลุ่มประเภทของลำน้ำ
                  ลำน้ำลำดับที่ 1 จะถูกควบคุมโดยนาที่ไหลบนพื้นผิว เนื่องจากล้านาล้าดับ ที่ 1 นี้จะไม่มีต้นนาเป็นตัวควบคุม บริเวณส่วนนี้จึงไวต่อการปนเปื้อนของมลพิษ ในขณะเดียวกันก็สามารถ ใช้ประโยชน์จากบริเวณนี้ได้มากกว่าลุ่มน้ำส่วนอื่น

                   การจัดลำดับของลำน้ำมี 2 ลักษณะ (Strahler, 1957 and Shreve,1966) ได้แก่

  • Strahler เป็นการจำแนกลำน้ำออกเป็นลำดับ โดยกำหนด ลำน้ำสายเล็กที่ไหลมาจากสันปันน้ำเป็นล้าดับที่ 1 (First order stream)

           ถ้าลำน้ำลำดับที่ 1 สองสายมารวมกันจะเกิดเป็นลำดับที่ 2 และ ล้ำน้ำลำดับที่ 2 สองสายมารวมกันจะเกิดเป็นล้ำน้ำลำดับที่ 3 นั่นคือ ลำน้ำดับเดียวกันไหลมารวมกันจะเกิดเป็นลำน้ำนลำดับสูงกว่า

  • Shreve เป็นการจำแนกลำน้ำออกเป็นลำดับ โดยกำหนด  ลำน้ำสายเล็กที่ไหลมาจากสันปันน้ำเป็นลำดับที่ 1 (First order stream)

            ถ้าลำน้ำลำดับที่ 1 สองสายมารวมกันจะเกิดเป็นลำดับที่ 2 และ ลำน้ำลำดับที่ 2 ไหลมารวมกับลำน้ำลำดับที่ 1 จะเกิดเป็นลำธารลำดับที่ 3 หากลำน้ำลำดับที่ 3 ไหลรวมกับลำน้ำลำที่ 1 กลายเป็นลำน้ำลำดับที่ 4



               ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Stream order ขึ้นมา  แล้วเลือกวิธีการจัดลำดับของลำน้ำ เป็นแบบ Strahler


              ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับของลำน้ำ เป็นแบบ Strahler


               ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Stream order ขึ้นมา  แล้วเลือกวิธีการจัดลำดับของลำน้ำ เป็นแบบ Shreve


              ทำการเซตค่าข้อมูล


               ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับของลำน้ำ เป็นแบบ Shreve


               การสร้าง Stream to Feature

                ไปที่ ArcToolbox แล้วเปิดเครื่องมือ Stream to Feature ขึ้นมา  แล้วทำการเซตค่าข้อมูล จากนั้นแล้วกด ok


                ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับของลำน้ำ รูปแบบ Stream to Feature
  

                กด Zoom in เข้าไปจะทำให้เห็นลักษณะของข้อมูลชัดเจนขึ้น


                ทำการ Open Attribute Table ของข้อมูลขึ้นมา






               การนำเอาข้อมูลการจัดลำดับของลำน้ำออกไปใช้ ไปที่ Data >> Export Data


                เลือกรูปแบบที่เราต้องการจะ Export  จากนั้น แล้วกด Ok เป็นการสิ้นสุดสำหรับขั้นตอน การวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์




Video ประกอบข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น